เมนู

ถามว่า ถ้าอย่างนั้น อธิกรณ์มีส่วนอื่น จะมีได้อย่างไร ?
แก้ว่า มีได้เพราะอาบัติ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึง
ตรัสคำนี้ว่า อธิกรณ์เป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และเลศอันโจทก์อ้างแล้ว
แม้ด้วยอาการอย่างนี้. แท้จริง ภิกษุนั้น ต้องสังฆาทิเสสใด, อธิกรณ์
คือสังฆาทิเสสนั้น เป็นอธิกรณ์มีส่วนอื่นแห่งปาราชิก. ก็ที่ชื่อว่าเลศแห่ง
อธิกรณ์มีส่วนอื่นนั้น คือความเป็นอาบัติทั่วไปแก่อาบัติทั้งปวง เหมือน
ความเป็นกษัตริย์ทั่วไปแก่กษัตริย์ทั้งปวงฉะนั้น. นัยทั้งหลายมีอาบัติที่เหลือ
เป็นมูล และโจทาปกวาร ผู้ศึกษาพึงทราบโดยอุบายนี้.
คำว่า อนาปตฺติ ตถาสญฺญี โจเทติ วา โจทาเปติ วา มีความว่า
ภิกษุใด มีความสำคัญอย่างนี้ว่า ผู้นี้ ต้องปาราชิกทีเดียว โจทเอง หรือ
ใช้ให้ผู้อื่นโจทอย่างนั้น ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้น. บทที่เหลือทั้งหมด
ตื้นทั้งนั้น.
แม้ปกิณกะมีสมุฏฐานเป็นต้น ก็เหมือนกับปฐมทุฏฐโทสสิกขาบท
นั้นแล.
ทุติยทุฏฐโทสสิกขาบทวรรณา จบ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 10
เรื่องพระเทวทัต


[590] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนคร

ราชคฤห์ ครั้งนั้นพระเทวทัตเข้าไปหาพระโกกาลิกะ พระกูฏโมรกติสสกะ
พระขัณฑเทวีบุตร และพระสมุทททัต ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะพระ-
โกกาลิกะ พระกูฎโมรกติสสกะ พระขัณฑเทวีบุตร และพระสมุทททัต
ว่า มาเถิด อาวุโสทั้งหลาย พวกเราจักกระทำสังฆเภท จักรเภท แก่
พระสมณโคดม
เมื่อพระเทวทัตกล่าวอย่างนี้แล้ว พระโกกาลิกะได้กล่าวคำนี้กะ
พระเทวทัตว่า อาวุโส พระสมณโคดมมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก
ไฉนเราจักทำสังฆเภท จักรเภท แก่พระสมณโคดมได้เล่า

วัตถุ 5 ประการ


พระเทวทัตกล่าวว่า มาเถิด อาวุโสทั้งหลาย พวกเราจักเข้าเฝ้า
พระสมณโคดม ทูลขอวัตถุ 5 ประการว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญคุณแห่งความมักน้อย ความสันโดษ ความ
ขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภ
ความเพียร โดยอเนกปริยาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วัตถุ 5 ประการนี้
เป็นไปเพื่อความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด
อาการที่น่าเสื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส 1. ภิกษุ
ทั้งหลายควรอยู่ป่าตลอดชีวิต ภิกษุใดอาศัยบ้านอยู่ โทษพึงถูกต้องภิกษุ
นั้น 2. ภิกษุทั้งหลายควรเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิต ภิกษุใดยินดีการ
นิมนต์ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น 3. ภิกษุทั้งหลายควรถือผ้าบังสุกุลตลอด
ชีวิต ภิกษุใดยินดีผ้าคหบดี โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น 4. ภิกษุทั้งหลาย